วัฒนธรรมประเพณีภาคอีสาน
Isan culture
วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นภาคอีสาน
ภาคอีสานเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมและประเพณี แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นแต่ละจังหวัด ศิลปวัฒนธรรมเหล่านี้เป็นตัวบ่งบอกถึงความเชื่อ ค่านิยม ศาสนาและรูปแบบการดำเนินชีวิตตลอดจนอาชีพของคนในท้องถิ่นนั้นๆได้เป็นอย่างดี สาเหตุที่ภาคอีสานมีความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมประเพณีส่วนหนึ่งอาจจะเป็นผลมาจาก การเป็นศูนย์รวมของประชากรหลากหลายเชื้อชาติ และมีการติดต่อสังสรรค์กับประชาชนในประเทศใกล้เคียง จนก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมขึ้น เช่น ประชาชนชาวอีสานแถบจังหวัดเลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศลาว ประชาชนของทั้งสองประเทศมีการเดินทางไปมาหากัน ทำให้เกิดการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมและประเพณีระหว่างกัน ซึ่งเราจะพบว่าชาวไทยอีสานและชาวลาวแถบลุ่มแม่น้ำโขงมีศิลปวัฒนธรรมประเพณีที่คล้ายๆกัน และรูปแบบการดำเนินชีวิตก็มีความคล้ายคลึงกันด้วย รวมทั้งชาวเวียดนามที่อพยพเข้ามาในช่วงสงครามเวียดนาม ก็ได้นำเอาศิลปวัฒนธรรมของเวียดนามเข้ามาด้วย ถึงแม้ปัจจุบันชาวเวียดนามเหล่านี้จะได้ปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมของท้องถิ่นอีสาน (เพื่อให้การดำรงชีวิตเป็นไปอย่างราบรื่น) โดยเฉพาะชาวเวียดนามที่เป็นวัยรุ่นในปัจจุบันได้รับการศึกษาที่ดีเหมือนกับชาวไทยทุกประการ จนแทบแยกไม่ออกว่าเป็นคนไทยอีสานหรือคนเวียดนามกันแน่ ส่วนใหญ่ก็จะเห่อวัฒนธรรมตะวันตก(เหมือนเด็กวัยรุ่นของไทย)จนลืมวัฒนธรรมอันดีงามของตัวเอง แต่ก็ยังมีชาวเวียดนามบางกลุ่มส่วนใหญ่เป็นคนสูงอายุยังคงยึดมั่นกับวัฒนธรรมของตนเองอยู่อย่างมั่นคง ท่านสามรถศึกษารูปแบบการดำเนินชีวิตแบบเวียดนามได้ตามชุมชนชาวเวียดนามในจังหวัดที่กล่าวมาแล้ว ส่วนประชาชนที่อยู่ทางจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา มีการติดต่อกันกับประชาชนชาวกัมพูชาก็จะรับเอาวัฒนธรรมของกัมพูชามาประยุกต์ใช้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ววัฒนธรรมประเพณีของคนทั้งสองเชื้อชาติก็มีความคล้ายคลึงกันอยู่แล้ว จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าภาคอีสานเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและวัฒนธรรมต่างๆ ก็มีความแตกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่นและแตกต่างจากภูมิภาคอื่นๆของไทยอย่างเห็นได้ชัด ทั้งวัฒนธรรมทางด้านการดำรงชีวิตและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนา ซึ่งเราสามารถสังเกตรูปแบบวัฒนธรรมที่ดีงามของชาวอีสานผ่านทางประเพณีต่างๆที่ชาวอีสานจัดขึ้นซึ่งสามารถถ่ายทอดวัฒนธรรมอีสานได้เป็นอย่างดี
งานประเพณีบุญบั้งไฟ
ประเพณีบุญบั้งไฟ กำเนิดจากไหนนั้น ยังไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน แต่ก็ยังปรากฏ ประเพณีนี้ในภาคเหนือ (เรียกว่า ประเพณีจิบอกไฟ)ส่วนหลักฐานเอกสารในภาคอีสาน ปรากฏใน วรรณกรรมท้องถิ่นเรื่อง ผาแดง-นางไอ่ ซึ่งกล่าวถึงตำนานบุญบั้งไฟบ้าง ส่วนความเป็นมาและตำนานเกี่ยวกับบุญบั้งไฟมีหลายประการ ด้วยผู้รู้หลายท่านได้กล่าวไว้ เช่น สิริวัฒน์ คำวันสา ได้ให้ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับต้นเหตุความเป็นมาของประเพณีบุญบั้งไฟ ในแง่ต่างๆไว้ว่าด้านศาสนาพราหมณ์ มีการบูชาเทพเจ้าด้วยไฟเป็นเครื่องบูชาเทพเจ้าบนสวรรค์ การจุดบั้งไฟ เป็นการละเล่นอย่างหนึ่งและเป็นการบูชาเพื่อให้พระองค์บันดาลในสิ่งที่ตนเองต้องการด้านศาสนาพุทธ เป็นการฉลองและบูชาเนื่องในวันวิสาขบูชามีการนำเอาดอกไม้ไฟแบบต่างๆ บั้งไฟ น้ำมัน ไฟธูปเทียนและดินประสิว มีการรักษาศีล ให้ทาน การบวชนาค การฮดสรง การนิมนต์พระเทศน์ ให้เกิดอานิสงส์ ด้านความเชื่อของชาวบ้าน ชาวบ้านเชื่อว่ามีโลกมนุษย์ โลกเทวดา และโลกบาดาล มนุษย์ อยู่ภายใต้อิทธิพลของเทวดา การรำผีฟ้า เป็นตัวอย่างแห่งการแสดงความนับถือเทวดา เทวดา คือ "แถน" "พญาแถน" เมื่อถือว่ามีพญาแถนก็ถือว่ามีฝน ฟ้า ลม เป็นอิทธิพลของพญาแถน หากทำให้พญาแถน โปรดปรานหรือพอใจแถนก็จะบันดาลความสุข จึงมีพิธีบูชาแถน การใช้บั้งไฟเชื่อว่าเป็นการบูชาพญาแถน ซึ่งแสดงความเคารพและแสดงความจงรักภักดีต่อแถน ชาวอีสานส่วนใหญ่จึงเชื่อว่าการจุดบูชาบั้งไฟเป็นการ ขอฝนพญาแถน และมีนิทานปรัมปราลักษณะนี้อยู่ทั่วไป แต่ความเชื่อนี้ยังไม่พบหลักฐานที่แน่นอน ในวรรณกรรมอีสานยังมีความเชื่ออย่างหนึ่ง คือ เรื่องพญาคันคาก พญาคันคากได้รบกับพญาแถนจนชนะแล้ว ให้พญาแถนบันดาลฝนตกลงมายังโลกมนุษย์ พระมหาปรีชา ปริญญาโน เล่าถึงมูลเหตุการทำบุญบั้งไฟไว้ว่า บนสวรรค์ชั้นฟ้ามีเทพบุตร นามว่า วัสสการเทพบุตร เทพบุตรองค์นี้เป็นผู้บันดาลให้ฝนตกลงมายังโลกมนุษย์ สิ่งหนึ่งที่เทพเจ้าองค์นี้ชอบ ก็คือ การบูชาไฟ ใครบูชาไฟถือว่าบูชาท่าน แล้วท่านจะบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล อาศัยเหตุนี้คนจึงพากันทำการบูชาไฟด้วยการทำบุญบั้งไฟและถือเป็นประเพณีจนทุกวันนี้ จารุบุตร เรืองสุวรรณ กล่าวถึงมูลเหตุแห่งการทำบั้งไฟว่าเป็นการทดสอบความพร้อมของ ประชาชนว่ามีความสามัคคีหรือไม่ และเตรียมอาวุธไว้ป้องกันสังคมของตนเอง เพราะสิ่งที่ใช้ทำบั้งไฟนั้นคือ ดินปืนนอกจากนี้ยังเป็นโอกาสให้ประชาชนมาร่วมชุมนุมกันเพื่อเปิดโอกาสให้มีการแสดงการละเล่นจนสุด เหวี่ยง ให้มีความสนุกสนานก่อนที่จะเริ่มทำงานหนักประจำปี คือ การทำนา บุญเลิศ สดสุชาติ กล่าวถึงการทำบั้งไฟว่า มีตำนานเล่าถึงเมืองธีตานครของท้าวพญาขอม เกิดแล้งหนัก ท่านจึงป่าวประกาศให้เมืองต่างๆ ทำบั้งไฟมาแข่งกันของใครขึ้นสูงสุดจะเป็นผู้ชนะได้อภิเษก สมรสกับ "นางไอ่" ผู้เป็นพระราชธิดา ผลการแข่งขันจุดบั้งไฟปรากฏว่าท้าวผาแดงเป็นผู้ชนะเลิศ เมื่อพญาขอม สิ้นพระชนม์ ท้าวผาแดงได้ครองเมืองสืบต่อมาด้วยความสงบสุขร่มรื่น กล่าวถึงท้าวภาคีบุตรพญานาค เคยเป็นคู่ครองของนางไอ่ในชาติปางก่อน ยังมีอาวรณ์ถึงนางจึงได้แปลงกายเป็นกระรอกเผือกมาให้นางไอ่เห็น เมื่องนางไอ่เห็นก็อยากได้กระรอกนั้นเป็นกำลัง นางได้ส่งบริวารให้ช่วยกันจับ บังเอิญบริวารยิงธนูถูกกระรอก เผือกถึงแก่ความตาย ก่อนตายท้าวภาคีได้อธิษฐานให้ร่างกายของตนใหญ่โต แม้คนจะเชือดเพื่อไปกิน มากมายอย่างไรก็อย่าได้หมด ใครที่กินเนื้อตนจงถึงแก่ชีวิตพร้อมกันทั้งแผ่นดินถล่ม เมืองธีตานครถึงแก่จม หายไป กลายเป็นหนองหาน ท้าวผาแดงและนางไอ่พยายามขี่ม้าหนี แต่ไม่รอดได้เสียชีวิตในคราวนี้ด้วย จากผลแห่งกรรมดีที่สร้างไว้ท้าวผาแดงได้ไปจุติเป็นเทพเจ้า ชื่อว่าพญาแถน ดังนั้นการทำบุญบั้งไฟก็ เพื่อเป็นการบูชาพญาแถน จารุวรรณ ธรรมวัตร กล่าวถึงมูลเหตุการทำบั้งไฟดังนี้ พญาแถนเป็นเทพยดาผู้มีหน้าที่ ควบคุมฝนฟ้าให้ตกต้องตามฤดูกาล หากทำการเซ่นบวงสรวงให้พญาแถนพอใจ ท่านก็จะอนุเคราะห์ให้การ ทำนาปีนั้นได้ผลสมบูรณ์ ตลอดจนบันดาลให้ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากหมู่บ้านใด ทำบุญบั้งไฟติดต่อกันมาถึงสามปี ข้าวปลาอาหารในหมู่บ้านนั้นจะบริบูรณ์มิได้ขาด พระยาอนุมานราชธน เขียนเล่าไว้ในเรื่อง "อัคนีกรีฑา" ว่าด้วยวัฒนธรรมและประเพณีต่างๆ ของไทยว่า เรื่องบ้องไฟนี้โบราณเรียกว่ากรวดหรือจรวด เป็นการเล่นไฟของชาวบ้าน โดยอ้างถึงหลักศิลาจารึก พ่อขุนรามคำแหง เมื่อพุทธศักราช ๑๘๓๕ ว่า "เมืองสุโขทัยนี้มีสีปากประตู หลวงเทียรญ่อมคนเสียดคนเข้าดู ท่านเผาเทียนเล่นไฟ เมืองสุโขทัยนี้มีดังจักแตก" เป็นหลักฐานว่าการเล่นไฟประดิษฐ์จรวด กรวด หรือบ้องไฟ รวมทั้งพลุ ตะไล และไฟพะเนียงได้รู้จัก และทำเล่นกันมานานเกือบ ๗๐๐ ปีแล้ว เป็นการละเล่นที่สนุกสนาน ผู้คนเบียดเสียดกันเข้ามาดูแทบว่ากรุงสุโขทัยแตก ส่วนงานประเพณีบั้งไฟ เมืองยโสธรได้มีมานานแล้ว โดยมีหลักฐานว่า มีมาก่อนที่กรมหลวง- สรรพสิทธิประสงค์ จะขึ้นไปเป็นข้าหลวงเทศาภิบาล คือ เรื่องของกบฏผีบุญ หรือกบฏชาวนา กรมหลวง- สรรพสิทธิประสงค์ จึงห้ามการเล่นบั้งไฟ
จุดประสงค์ของการทำบุญบั้งไฟ
จุดประสงค์ของการทำบุญบั้งไฟ มีหลายอย่าง เช่น
๑. การบูชาคุณของพระพุทธเจ้า
สืบต่ออายุพระพุทธศาสนา ขอน้ำฝน เชื่อมความ สมัครสมานสามัคคี
แสดงการละเล่นการบูชาคุณของพระพุทธเจ้า ชาวอีสานส่วนมากนับถือพระพุทธศาสนา
เมื่อถึงเทศกาลเดือน ๖ ซึ่งเป็นวันประสูติ วันตรัสรู้
และวันปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ชาวอีสานจะจัดดอกไม้ธูปเทียนมาบูชา พระพุทธรูป
การทำบุญบั้งไฟของชาวอีสานถือว่าเป็นการบูชาพระพุทธเจ้าด้วยเช่นกัน
๒. การสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา
เนื่องจากการทำบุญบั้งไฟ มีการบวชพระและบวชเณร ในครั้งนี้ด้วย
จึงถือว่าเป็นการสืบต่อพระพุทธศาสนา
๓. การขอฝน
การทำนาไม่ว่าจะเป็นของภาคใดก็ต้องอาศัยน้ำฝน ชาวอีสานก็เช่นกัน
เนื่องจากมนุษย์ไม่สามารถควบคุมธรรมชาติได้
จึงมีความเชื่อเดียวกันกับสิ่งเหนือธรรมชาติจากตำนาน
เรื่องเล่าของชาวอีสานเชื่อว่า มีเทพบุตรชื่อ โสกาลเทพบุตร
มีหน้าที่บันดาลน้ำฝนให้ตกลงมา จึงทำบุญ บั้งไฟขอน้ำจากเทพบุตรองค์นั้น
๔. การเชื่อมความสามัคคี
คนในบ้านเมืองหนึ่งที่แตกต่างกันมาอยู่รวมกัน ถ้ามิได้ทำกิจกรรม
ร่วมกันก็จะมีฐานะต่างคนต่างอยู่ เมื่อบ้านเมืองเกิดความยุ่งยากจะขาดกำลังคนแก้ไข
ดังนั้น เมื่อทำบุญ
บั้งไฟก็จะเปิดโอกาสให้คนทั้งหลายได้มาร่วมแรงร่วมใจกันประกอบกิจกรรม
สร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้น ในหมู่คณะ
๕. การแสดงการละเล่น
เป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนมาแสดงการละเล่น คนเราเมื่อได้เล่น ได้กินร่วมกัน
จะเกิดความรักใคร่ใยดีต่อกัน การเล่นบางอย่างจะสุภาพเรียบร้อย บางอย่างหยาบโลน
แต่ก็ไม่ ถือสาหาความ ถือเป็นการเล่นเท่านั้น
ชนิดของบั้งไฟ
ชนิดของบั้งไฟมีหลายชนิด
ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายในการทำ อาจจะแยกเป็นแบบใหญ่ และนิยมทำกันมากมี ๓ แบบ คือ
แบบมีหาง แบบไม่มีหาง และบั้งไฟตะไลบั้งไฟมีหางเป็นแบบมาตรฐาน เรียกว่า
"บั้งไฟหาง" มีการตกแต่งให้สวยงามเมื่อเวลาเซิ้ง
เวลาจุดจะพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าได้สูงมาก
ควบคุมทิศทางได้เล็กน้อยบั้งไฟแบบไม่มีหางเรียกว่า "บั้งไฟก่องข้าว"
รูปร่างคล้ายกล่องใส่ข้าวเหนียว ชนิดมีขาตั้ง เป็นแฉก
ถ้าจะเปรียบเทียบให้เห็นชัดก็คล้ายจรวดนั่นเองบั้งไฟตะไล มีรูปร่างกลม มีไม้บางๆ
แบนๆ ทำเป็นวงกลมรอบหัวท้ายของบั้งไฟ เวลาพุ่ง ขึ้นสู่ท้องฟ้าจะพุ่งไปโดยทางขวาง
บั้งไฟทั้งสามแบบที่กล่าวมา ถ้าจะแยกย่อยๆ
ตามเทคนิคการทำและลักษณะรูปร่างของบั้งไฟ จะแยกเป็นประเภทได้ ๑๑ ชนิด ดังนี้คือ
- บั้งไฟโมดหรือโหมด
- บั้งไฟม้า
- บั้งไฟช้าง
- บั้งไฟจินาย
- บั้งไฟดอกไม้
- บั้งไฟฮ้อยหรือบั้งไฟร้อย
- บั้งไฟหมื่น
- บั้งไฟแสน
- บั้งไฟตะไล
- บั้งไฟตื้อ
- บั้งไฟพลุ
การละเล่นพื้นบ้านภาคอีสาน
การเล่นงูกินหาง
ภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด ร้อยเอ็ด
อุปกรณ์ และวิธีเล่น การเล่นงูกินหางไม่มีอุปกรณ์การเล่นใด ๆ สามารถเล่นได้ทุกโอกาสจะมีเล่นทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ส่วนมากผู้ใหญ่จะเล่นในเทศกาลสำคัญ เช่น สงกรานต์ ส่วนเด็ก ๆ จะเล่นทุกโอกาสที่เด็ก ๆ รวมกันซึ่งมีวิธีการเล่นดังนี้ เริ่มเล่นเมื่อผู้เล่นพร้อมกันแล้วจะเริ่มด้วยการเสี่ยงถ้าใครแพ้คนนั้น ก็จะออกเป็นพ่องู ส่วนผู้ชนะก็จะได้เล่นเป็นแม่งูและลูกงู ส่วนมากในกลุ่มผู้เล่นจะเลือกเอาคนที่มีร่างกายแข็งแรงหรือรูปร่างใหญ่ในทีม เป็นแม่งู เพื่อเอาไว้ป้องกันลูกงู เมื่อได้ผู้เล่นแล้วพ่องูและแม่งูจะยืนหันหน้าเข้าหากัน ส่วนแม่งูจะมีลูกงูกอดเอวต่อแถวไปข้างหลังแล้วพ่องูจะเริ่มถามแม่งูว่า
พ่องู “แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน”
แม่งู “กินน้ำบ่อโสกโยกไปโยกมา” พร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา
พ่องู “แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน”
แม่งู “กินน้ำบ่อหินบินไปบินมา” พร้อมแสดงอาการบินไปบินมา
พ่องู “แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน”
แม่งู “กินน้ำบ่อทรายย้ายไปย้ายมา” พร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา
พ่องู “กินหัวกินหางกินกลางตลอดตัว”
เมื่อ พ่องูกล่าวเสร็จพ่องูจะเริ่มไล่จับลูกงูที่กอดเอวแม่งูอยู่ส่วนแม่งูก็จะ พยายามป้องกันไม่ให้พ่องูไปแย่งลูกงูได้ เมื่อพ่องูจับลูกงูคนใดได้ลูกงูก็จะออกมายืนอยู่ต่างหากเพื่อรอเล่นรอบต่อไป ส่วนพ่องูจะพยายามแย่งลูกงูให้ได้หมดทุกตัวจึงจะถือว่าจบการเล่นรอบหนึ่ง เมื่อพ่องูจับลูกงูได้ทุกตัวแล้วก็จะเริ่มเล่นใหม่ โดยพ่องูคนเดิมจะกลับไปเป็นแม่งูในรอบต่อไป
คุณค่า/แนวคิด/สาระ
๑. ให้ความสนุกสนานในกลุ่มผู้เล่น
๒. ฝึกให้เกิดความสามัคคีในกลุ่มผู้เล่น
๓. ฝึกฝนการต่อสู้และการหลบหลีกภัยที่จะเกิดกับตน
๔. ฝึกการทำงานเป็นกลุ่มตั้งแต่วัยเด็ก
จังหวัด ร้อยเอ็ด
อุปกรณ์ และวิธีเล่น การเล่นงูกินหางไม่มีอุปกรณ์การเล่นใด ๆ สามารถเล่นได้ทุกโอกาสจะมีเล่นทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ส่วนมากผู้ใหญ่จะเล่นในเทศกาลสำคัญ เช่น สงกรานต์ ส่วนเด็ก ๆ จะเล่นทุกโอกาสที่เด็ก ๆ รวมกันซึ่งมีวิธีการเล่นดังนี้ เริ่มเล่นเมื่อผู้เล่นพร้อมกันแล้วจะเริ่มด้วยการเสี่ยงถ้าใครแพ้คนนั้น ก็จะออกเป็นพ่องู ส่วนผู้ชนะก็จะได้เล่นเป็นแม่งูและลูกงู ส่วนมากในกลุ่มผู้เล่นจะเลือกเอาคนที่มีร่างกายแข็งแรงหรือรูปร่างใหญ่ในทีม เป็นแม่งู เพื่อเอาไว้ป้องกันลูกงู เมื่อได้ผู้เล่นแล้วพ่องูและแม่งูจะยืนหันหน้าเข้าหากัน ส่วนแม่งูจะมีลูกงูกอดเอวต่อแถวไปข้างหลังแล้วพ่องูจะเริ่มถามแม่งูว่า
พ่องู “แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน”
แม่งู “กินน้ำบ่อโสกโยกไปโยกมา” พร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา
พ่องู “แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน”
แม่งู “กินน้ำบ่อหินบินไปบินมา” พร้อมแสดงอาการบินไปบินมา
พ่องู “แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน”
แม่งู “กินน้ำบ่อทรายย้ายไปย้ายมา” พร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา
พ่องู “กินหัวกินหางกินกลางตลอดตัว”
เมื่อ พ่องูกล่าวเสร็จพ่องูจะเริ่มไล่จับลูกงูที่กอดเอวแม่งูอยู่ส่วนแม่งูก็จะ พยายามป้องกันไม่ให้พ่องูไปแย่งลูกงูได้ เมื่อพ่องูจับลูกงูคนใดได้ลูกงูก็จะออกมายืนอยู่ต่างหากเพื่อรอเล่นรอบต่อไป ส่วนพ่องูจะพยายามแย่งลูกงูให้ได้หมดทุกตัวจึงจะถือว่าจบการเล่นรอบหนึ่ง เมื่อพ่องูจับลูกงูได้ทุกตัวแล้วก็จะเริ่มเล่นใหม่ โดยพ่องูคนเดิมจะกลับไปเป็นแม่งูในรอบต่อไป
คุณค่า/แนวคิด/สาระ
๑. ให้ความสนุกสนานในกลุ่มผู้เล่น
๒. ฝึกให้เกิดความสามัคคีในกลุ่มผู้เล่น
๓. ฝึกฝนการต่อสู้และการหลบหลีกภัยที่จะเกิดกับตน
๔. ฝึกการทำงานเป็นกลุ่มตั้งแต่วัยเด็ก